บริษัท แอคเคาท์มาย จำกัด
โทร 02-701-6752, 02-701-6973, 089-498-4816, 086-985-1614
  • th

รายการลดหย่อนภาษีมนุษย์เงินเดือน


รายการลดหย่อนภาษีมนุษย์เงินเดือน

รวมรายการลดหย่อนภาษีปี 2562 ของมนุษย์เงินเดือนมีกี่รายการ-อะไรบ้าง?

 

ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว เชื่อว่าหลายคนก็เตรียมหาตัวช่วยเพื่อมาลดหย่อนภาษีปี 2562 กันบ้างแล้ว โดยผู้ที่มีเกณฑ์เสียภาษีสามารถยื่นแบบฟอร์มได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 8 เม.ย. 63

 

สำหรับรายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 นั้นแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม

 

ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนบุคคล

• จำนวน 60,000 บาท

• หมายเหตุ สามารถใช้ได้ทันที

ค่าลดหย่อนคู่สมรส

• จำนวน 60,000 บาท

• หมายเหตุ สามี-ภรรยาต้องจดทะเบียนสมรส, คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ แต่ไม่ได้แยกยื่นแบบ

ค่าลดหย่อนบุตร

• จำนวน 30,000 บาท

• หมายเหตุ บุตรตามกฎหมายไม่จำกัดจำนวน, บุตรบุญธรรมลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน, บุตรต้องอายุไม่เกิน 20 ปี, หากบุตรอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาชั้น ปวส. ขึ้นไป และบุตรมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท

ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร

• จำนวนลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

• หมายเหตุ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 62 และสามีใช้สิทธิ์ได้หากภรรยาไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ แต่ยื่นแบบรวมกัน

ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2

• จำนวน 30,000 บาทต่อคน

• หมายเหตุ คลอดบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปในปี 2562 และเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา (ของตัวเองและคู่สมรส)

• จำนวน 30,0000 บาทต่อคน สูงสุด 4 คน รวม 120,000 บาท

• หมายเหตุ บิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป, มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท และลูกใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียว

ค่าอุปการะผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพ

• จำนวน 60,000 บาท

• หมายเหตุ ผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และผู้พิการมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท

 

ค่าลดหย่อนภาษี กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ได้แก่

เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต

• จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

• จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

** รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท **

เบี้ยประกันชีวิตและบำนาญ

• จำนวน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

• จำนวน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

• จำนวน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

• จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท

** หากรวมเบี้ยประกันชีวิตและบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครู่โรงเรียนเอกชน, กองทุน RMF และ กอช. รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท **

 

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

• จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

โครงการบ้านหลักแรกปี 2558

• จำนวนค่าลดหย่อนสูงสุดปีละ 120,000 บาท ไม่เกิน 5 ปี (2558-2562)

• หมายเหตุ สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก เมื่อปี 2558-2559

โครงการบ้านหลังแรกปี 2562

• จำนวนค่าลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาท

• หมายเหตุ ซื้อบ้าน-คอนโด ราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท, ต้องเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น, ถือครองกรรมสิทธิ์อย่างน้อย 5 ปี และโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 เม.ย.-31 ธ.ค. 62

 

กลุ่มเงินบริจาคตอบแทนสังคม ได้แก่

เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/สังคม และโรงพยาบาลรัฐ

• จำนวนลดภาษีได้ 2 เท่า ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อนอื่นแล้ว)

เงินบริจาคให้สถานสาธารณกุศล/ น้ำท่วม

• จำนวนลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

 

กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่

ช้อปช่วยชาติ (1-16 ม.ค. 62)

• จำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

• หมายเหตุ เฉพาะการซื้อยางยนต์/หนังสือ และสินค้า OTOP จากร้านที่จดทะเบียน

สินค้าการศึกษาและกีฬา (1 พ.ค.-30 มิ.ย. 62)

• จำนวนตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท

• หมายเหตุ ไม่รวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

หนังสือ (1 ม.ค.-31 ธ.ค.62)

• จำนวนตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท

• หมายเหตุ มีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

สินค้า OTOP (30 เม.ย.-30 มิ.ย. 62)

• จำนวนตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท

• หมายเหตุ มีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ระบุว่าเป็นรายการสินค้า OTOP

เที่ยวเมืองหลัก-เมืองรอง (30 เม.ย.-30 มิ.ย. 62)

• จำนวนเที่ยวเมืองหลัก ไม่เกิน 15,000 บาท

• จำนวนเที่ยวเมืองรอง ไม่เกิน 20,000 บาท

• หมายเหตุ เฉพาะค่าที่พัก ค่าบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ตามเงื่อนไขที่กำหนด

อ้างอิง : Sanook.com